บทบาทครูในศตวรรณที่21

บทบาทครูในศตวรรณที่21

ครูในยุคศตวรรษ ที่ 21 คือ ครูในยุคโลกาภิวัฒน์ จะต้องมีความรู้กว้างไกลในเทคโนโลยี โลกสมัยใหม่เต็มไปด้วย it ครูจะล้าหลังเป็นเต่าสองพันปีไม่ได้ จะต้องพัฒนาแบบก้าวกระโดดจึงจะทันโลกยุคใหม่ นวัตกรรมจึงเป็นเครื่องมือของครูยุคใหม่ ที่จะต้องพัฒนาตนเองในด้านเทคโนโลยี วิชาการ เพื่อนำนวัตกรรมไปพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้นและยังถือได้ว่า ครูเป็นผู้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ

บทบาท ของครู ศตวรรษ ที่ 21 คือการช่วยเตรียมให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการปรับตัวเพื่อดำรงชีวิตอยู่อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับลักษณะที่เป็นไปของสังคม ครูคือผู้ที่ต้องช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้สูงสุดเท่าที่เป็นไปได้หรือกล่าวอีกอย่างว่าต้องช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนได้เต็มตามศักยภาพของเขา อาจสรุปบทบาทหน้าที่ของครูในยุคใหม่ได้ คือ ต้องสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึงการที่ครูทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือสนับสนุนให้ผู้เรียนพัฒนาตนได้เต็มตามศักยภาพของเขาโดยสอดคล้องกับความจำเป็นเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมยุคใหม่และส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะความรู้และเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วและล้าสมัยเร็วผู้คนในยุคใหม่ต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลา ครูจะต้องฝึกนิสัยให้ผู้เรียนรักการเรียนรู้ปรับเปลี่ยนความคิดได้ง่าย มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและสอนวิธีเรียนมากกว่าสอนเนื้อหา เพราะเนื้อหาในยุคสมัยนี้จะมากเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้อย่างพอเพียง และข้อมูลและเนื้อหาก็เปลี่ยนแปลงเร็วทำให้การจดจำเนื้อหาความรู้เป็นสิ่งที่ใช้ได้และมีประโยชน์น้อย

ครูในศตวรรษที่ 21 ต้องมีความคิดที่กว้างไกลมีการใช่สื่อเทคโนโลยีในการสอน  และควรคำนึงถึงวัยของผู้เรียนและความเข้าใจในสื่อที่จะนำมาถ่ายทอด อย่างเช่นสื่อสำหรับเด็กอนุบาลก็ควรจะต้องมีสิ่งที่ดึงดูดความสนใจ เพราะเด็กจะมีสมาธิสั้นก็ควรจะมีการใช้ภาพเคลื่อนไหวหรือการ์ตูนต่างๆ เพื่อให้เด็กมีไหวพริบปฏิภาณที่ดี สำหรับเด็กประถมก็ควรจะหาสื่อการเรียนการสอนที่ยากมาอีกหน่อย อย่างเช่นเกมส์ และเด็กในวัยนี้สามารถเรียนการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นได้ และเด็กมัธยมต้นก็ควรจะหาสื่อที่ยากกว่านี้คือการเรียนที่ทันสมัยขึ้นมาอีกหน่อย เพราะเด็กในวัยนี้มีความรู้เรื่องเทคโนโลยีมาก อาจจะให้เด็กสมัคร E-mail เป็นของตัวเองเพื่อส่งงานให้กับคุณครูผู้สอนส่วนเด็กมัธยมปลายก็ควรจะใช้สื่อ PowerPoint ในการเรียนการสอน

ดังนั้นครูในศตวรรษที่ 21  จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน เพื่อจะได้นำความรู้มาถ่ายทอดให้กับนักเรียน และใช้สื่อเทคโนโลยีต่างๆที่ทันสมัยมาถ่ายทอดให้กับนักเรียน เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนให้มากที่สุด

บทบาทนักเรียนในศตวรรณที่21

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
จากการศึกษาแผนภาพการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21เปรียบเทียบกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 20 แตกต่างกันมากเพราะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้นให้คนลดการเรียนรู้ทางด้านวิชาการลงแต่ไปเพิ่มการพัฒนาทักษะต่างๆ มากขึ้น
ทั้งด้านทักษะในการใช้ชีวิต ทักษะการคิด และการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้(ICT)ซึ่งสอดคล้องและสัมพันธ์กับสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 จำนวน 5 ด้าน1. ความสามารถในการสื่อสาร คือความรู้สึกและทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อัน จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรอง เพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสาร ด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม ซึ่งสอดคล้องกับ ICT Literacy
2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคม ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับLearning Thinking Skills
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับ Life skill
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น สอดคล้องกับ Life skill
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม สอดคล้องกับ ICT Literacy
ดังนั้นการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21(21st Century Content)เป็นการเรียนรู้หลายทาง หรือการบูรณาการความรู้ต่างๆ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับผู้สอน สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ได้ โดยเฉพาะการใช้ ICT มาใช้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ และการเรียนรู้การใช้ICTควบคู่ไปกับการเรียนรู้ทักษะชีวิตและอื่นๆ ส่วน core subjects นั้นเป็นส่วนของเนื้อหาที่นำมาใช้ในการประกอบอาชีพ จะเป็นส่วนเสริมของสมรรถนะทั้ง 5 ด้านเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและการศึกษาขั้นสูงต่อไป ดังนั้นวิธีการเรียนรู้จึงเปลี่ยนจากท่องจำเป็นการปฏิบัติและการบูรณาการหลายๆศาสตร์เข้าด้วยกัน

สื่อและแหล่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

       อย่างที่ทราบกันดีว่าขณะนี้ในศตวรรษที่21 ทุกประเทศได้เน้นการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ เช่น การสื่อสาร นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้  ในด้านของสื่อการสอนและแหล่งการเรียนรู้ก็ต้องมีการพัฒนานวัตกรรมเพื่อจะช่วยส่งเสริมทักษะด้านต่าง ๆ ของเด็กให้ก้าวทันโลกในศตวรรษที่21 นี้เช่นกัน  หลายประเทศในสังคมโลกต้องปฏิรูปการศึกษาก็คือ เศรษฐกิจฐานความรู้  (Knowledge-based Economy)  และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ  อันนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว  และการแข่งขันอย่างรุนแรงทางเศรษฐกิจ  การค้า และอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ  ดังนั้น  ประเทศที่จะอยู่รอดได้หรือคงความได้เปรียบในการแข่งขันก็คือ ประเทศที่มีอำนาจทางความรู้  และเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society)   ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประชาคมโลกที่ได้พยายามที่จะปฏิรูปการศึกษา  เพื่อเพิ่มความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันกับนานาประเทศ   ดังที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549)ได้กำหนดวิสัยทัศน์ที่จะให้ประเทศไทยพัฒนาไปสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้  (Wisdom and Learning Society)   ซึ่งก็มีหลายมาตราที่เกี่ยวกับการเรียนรู้และเทคโนโลยีของสื่อ เช่น 

มาตรา 25  รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ  ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน  พิพิธภัณฑ์  หอศิลป์  สวนสัตว์  สวนสาธารณะ  สวนพฤกษศาสตร์  อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ศูนย์การกีฬา  และนันทนาการ  แหล่งข้อมูล  และแหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ
มาตรา 29  ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล  ครอบครัว  ชุมชน องค์กรชุมชน       องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ  สถาบันศาสนา  สถานประกอบการ  และสถาบันสังคมอื่น  ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน  โดยจัด “กระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน”  เพื่อให้ชุมชนมีการจัดการศึกษาอบรม  มีการแสวงหาความรู้  ข้อมูล  ข่าวสาร  และรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ รวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่างชุมชน

มาตรา 66 หมวด 9 กำหนดว่า ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้  เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
               กล่าวได้ว่า  สาระเรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิตนั้น ได้บรรจุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว  โดยกฎหมายเพื่อปฏิรูปการศึกษาฉบับดังกล่าวมีเจตนารมณ์ที่ชัดเจนในอันที่จะนำประเทศไทยไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตแนวทางส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประเทศไทย

ซึ่งจากการปฏิรูปการศึกษาใหม่นี้ทำให้ กระบวนการเรียนรู้สำคัญกว่าความรู้และ ครูมิใช่ผู้มอบความรู้แต่เป็น ผู้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ไปพร้อมกับเด็กและเยาวชน” เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ตัวความรู้อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาลเกินกว่าที่จะมอบให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ อีกทั้งนักเรียนในศตวรรษใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเองจากทุกหนแห่งทั้งในสิ่งแวดล้อมและอินเทอร์เน็ต หากการศึกษาไทยยังย่ำอยู่กับกระบวนทัศน์เดิม คือมอบความรู้เป็นรายวิชาก็จะไม่ทันสถานการณ์โลก ที่ควรทำคือมีกระบวนทัศน์ใหม่ที่จะพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต เด็กและเยาวชนจะเรียนรู้อะไรบ้างขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละคน แต่ที่ทุกคนควรมีคือความสามารถในการเรียนรู้ตลอดเวลา ตลอดชีวิตและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง  และสื่อก็เป็นตัวกลางสำคัญในแระบวนการเรียนการสอนซึ่งเป็นัวนำความต้องการของครูไปสู่นักเรียนและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือหลักในการปฏิบัติงานและติดต่อสื่อสารข้อมูล ก็เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการศึกษาในศตวรรษปัจจุบันโดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ และการนำสื่ออิเล็ทรอนิกส์มาใช้นั้นก็มีหลายประเภทที่นำมาใช้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAIWBI (Web-based Instruction),  การเรียนอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Learning , E-book , E-Training  เป็นต้น